วันพุธที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2552

สาระความรู้เรื่องโรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน

โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและปัสสาวะให้เป็นปกติได้

โรคนี้สามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ไปสู่บุตรหลานได้

สาเหตุ : เกิดจากความผิดปกติของตับอ่อนที่ไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ซึ่งเป็นฮอร์โมนอินซูลินเป็นฮอร์โมนที่ช่วยนำพาน้ำตาลเข้าไปในเนื้อเยื่อ เพื่อไปใช้เป็นพลังงาน ในกรณีที่ร่างกายขาดอินซูลิน จะเกิดภาวะน้ำตาลคั่งในเลือด แล้วถูกขับออกมากับปัสสาวะ ทำให้เกิดอาการเบาหวาน

อาการ : ระยะแรกไม่มีอาการบ่งชัด เมื่อเป็นระยะหลัง จะมีอาการชัดเจนคือ

ดื่มน้ำบ่อยและมาก
กินจุแต่ผอมลง
เป็นแผลหรือฝีง่าย แต่หายยาก
ตาพล่ามัว
บุตรคนแรกคลอดน้ำหนักเกิน 4 กิโลกรัม
ปัสสาวะบ่อยและมาก
น้ำหนักลด และอ่อนเพลีย
คันตามผิวหนัง และบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์
ชาปลายมือปลายเท้า ความรู้สึกทางเพศลดลง

การรักษา : ต้องควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย และควบคู่กับการรักษาทางยา

1.
อาหาร : อาหารที่รับประทานแบ่งเป็น 3 กลุ่ม
กลุ่มแรก ควรหลีกเลี่ยงไม่ควรรับประทานได้แก่
อาหารที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบโดยตง รวมทั้งน้ำผึ้งด้วย
ผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น ทุเรียน มะม่วงสุก ฯลฯ

เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และน้ำอัดลม ฯลฯ
กลุ่มสอง ต้องจำกัดปริมาณ ได้แก่
อาหารประเภทแป้ง เช่น ข้าว ก๋วยเตี๋ยว เผือก มัน ฯลฯ
อาหารประเภทไขมัน เช่น มะพร้าว น้ำมันหมู อาหารที่ทอดด้วยน้ำมัน ฯลฯ
ผลไม้ที่มีรสหวานอ่อนๆ เช่น ส้ม มะละกอสุก ฯลฯ
กลุ่มสาม รับประทานได้ไม่จำกัด เช่น
เนื้อสัตว์ฺที่ไม่มีมัน และปลา
เครื่องดื่มที่ไม่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ
เครื่องเทศต่างๆ ถั่วต่างๆ

ควรกินอาหารที่มีเส้นใยมากๆ เช่น ข้าวซ้อมมือ ผักทุกชนิด เม็ดแมงลัก
2.
ออกกำลังกานสม่ำเสมอ จะเกิดผลดี

ทำให้ระดับน้ำตาล ควบคุมได้ดีขึ้นและทำให้การใช้ยากินหรือยาฉีดน้อยลงได้
ทำให้ช่วยลดน้ำหนักตัว

ช่วยลดภาวะความดันโลหิตสูง และอัตราเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ
3.
ยา : ควบุคมระดับน้ำตาล ด้วยยารักษาเบาหวานสม่ำเสมอตามแผนการรักษาของแพทย์

โรคแทรกซ้อน

1.
พบภาวะความดันโลหิตสูงร่วมด้วย
2.
โรคตาจากเบาหวาน เช่น ตามัว ต้อกระจก
3.
โรคไตจากเบาหวาน เช่น เกิดไตเสื่อมสมรรถภาพในการขับถ่าย และเกิดไตวายในที่สุด
4.
หลอดเลือดสมองตีบ-ตัน ทำให้เป็นอัมพาต กลืนลำบาก พูดไม่ชัด
5.
หลอดเลือดหัวใจตีบ-ตัน เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย
6.
กลุ่มโรคเส้นเลือดแดงส่วนปลายเกิดแผลที่เท้าและเน่า มีแผลจะติดเชื้อง่ายรักษายาก
7.
เกิดอักเสบจากปลายประสาท ทำให้มีอาการชาปลายมือ ปลายเท้า หมดความรู้สึกทางเพศ

การปฏิบัติตัว ของผู้ป่วยเบาหวาน

ออกกำลังกายสม่ำเสมอทุกวัน เช่น เดิน หรือ วิ่งเหยาะๆ
รักษาเท้าให้สะอาด อย่าตัดเล็บสั้นเกินไป และอย่าสวมรองเท้าคับเกินไป
ถ้ามีบาดแผลรีบไปพบแพทย์เพื่อรักษา
ทำจิตใจให้สบาย ความเครียดหรือกังวลใจมากๆ จะทำให้น้ำตาลถูกขับออกจากตับมาก มีผลให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มมากขึ้น

อันตราย ที่อาจเกิดขึ้นได้ทันที

1.
ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงมาก : ผู้ป่วยจะมีอาการกระหายน้ำมาก ปัสสาวะบ่อย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ใจเต้นแรงเร็ว หายใจหอบลึก มีกลิ่นเหมือนผลไม้สุก ซึม และอาจหมดสติได้
วิธีแก้ไข

รีบพบแพทย์หรือส่งโรงพยาบาลด่วน หากไม่ได้รับการรักษาทันท่วงทีอาจเสียชีวิตได้
2.
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
วิธีแก้ไข

เมื่อเริ่มรู้สึกหิว ใจสั่น มือสั่น ให้กินน้ำหวาน หรือน้ำตาล หรือของหวานๆ ทันที

หากหมดสติให้นำส่งโรงพยาบาล ถ้าชักช้าอาจอันตรายถึงชีวิต

เราจะทราบว่าเป็นโรคเบาหวานหรือไม่ โดย

ไปพบเพทย์ตรวจหาน้ำตาลในเลือด
ตรวจหาน้ำตาลในปัสสาวะ

ข้อปฏิบัติในการมาเจาะเลือด เพื่อตรวจเบาหวาน

1.
งดอาหาร และเครื่องดื่มทุกชนิด ยกเว้นน้ำดื่ม ตั้งแต่หลังเที่ยงคืนก่อนวันเจาะเลือดจนถึงเวลาเจาะเลือด
2.
งดฉีดกลูโคส น้ำเกลือทางเส้นเลือดหลังเที่ยงคืนจนถึงเวลาเจาะเลือด

การรักษาเบาหวานต้องยึดสิ่งสำคัญ คือ การรักษาทางยา ควบคุมอาหาร และออกกำลังกาย ผู้ป่วยเบาหวาน ถ้าเป็นวัณโรคด้วย โรคอาจกำเริบมากขึ้น ต้องควบคุมรักษาเบาหวานโดยใกล้ชิดจากแพทย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น